เมนู

สูตร1ที่ 8



ว่าด้วยประโยชน์ 2 ประการในการเสพเสนาสนะอันสงัด



[274] 28. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว
อำนาจประโยชน์ 2 ประการเป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบัน
ของตน 1 อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็น
อำนาจประโยชน์ 2 ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและ
ป่าเปลี่ยว.
จบสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อตฺถวเส ได้แก่ เหตุ. บทว่า อรญฺญวนปฏฺฐานิ ได้แก่
ป่าและดง. ใน 2 อย่างนั้น ในอภิธรรมท่านเรียกที่ทั้งหมดที่อยู่นอก
เสาอินทขีล [ เสาหลักเมือง ] ออกไปว่า ป่า โดยตรงก็จริง ถึงอย่างนั้น
บ่าที่ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์พอพักอยู่ได้ ที่ท่านกล่าวว่าใกล้ที่สุดชั่ว
500 ธนูนั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์. บทว่า วนปฏฺฐ ได้แก่
ป่าที่เลยเขตบ้านออกไป ไม่เป็นถิ่นของมนุษย์ ไม่เป็นที่ไถที่หว่าน.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ สุดกู่ คือไกลมาก. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารํ
ได้แก่ การอยู่อย่างผาสุกทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า ปจฺฉิมญฺจ
ชนตํ อนุกมฺปมาโน
ความว่า อนุเคราะห์สาวกรุ่นหลังของเรา.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 10.

สูตรที่ 91



ว่าด้วยธรรม 2 อย่างที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา



[275] 29. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างเป็นไปในส่วน
แห่งวิชชา ธรรม 2 อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ 1 วิปัสสนา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อม
อมรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญา
ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละวิชชาได้.
จบสูตรที่ 9

สูตรที่ 10



[276] 30. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ
ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วย
ประการฉะนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า
เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.
จบสูตรที่ 10
จบพาลวรรคที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 112



ในสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิชฺชาภาคิยา แปลว่า เป็นไปในส่วนวิชชา. บทว่า สมโถ

1. สูตรที่ 9-10 มีเนื้อความติดต่อกัน ควรจะรวมไว้ในสูตรเดียวกัน แต่บาลีแยกเป็น 2 สูตร
อรรถกถารวมไว้เป็นสูตรเดียวกัน คือสูตรที่ 11.
2. บาลีข้อ 275-276.